หน้าเว็บ

วันศุกร์ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ฉันทลักษณ์กาพย์ฉบัง16


ตัวอย่างคำประพันธ์
ฉบังสิบหกความหมายหนึ่งบทเรียงราย
นับได้สิบหกพยางค์ 
สัมผัสชัดเจนขออ้างเพื่อเป็นแนวทาง
ให้หนูได้คิดคำนึง 
พยางค์สุดท้ายวรรคหนึ่งสัมผัสรัดตรึง
สุดท้ายวรรคสองต้องจำ 
สุดท้ายวรรคสามงามขำร้อยรัดจัดทำ
สัมผัสรัดบทต่อไป 
บทหนึ่งกับสองว่องไวจงจำนำไป
เรียงถ้อยร้อยกาพย์ฉบัง 
อ.ภาทิพ ศรีสุทธิ์

ฉันทลักษณ์อินทรวิเชียรฉันท์


ตัวอย่างอินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑

ราชาพระมิ่งขวัญ            สุนิรันดร์ประเสริฐศรี
ไพร่ฟ้าประดามี              มนชื่นสราญใจ
ทรงเป็นบิดรราษฎร์         กิติชาติขจรไกล
กอปรบารมีชัย                ชุติโชติเชวงเวียง
ที่มา: หนังสือร้อยรสพจมาน

ฉันทลักษณ์กาพย์ยานี 11



ตัวอย่างคำประพันธ์
สิบเอ็ดบอกความนัยหนึ่งบาทไซร้องพยางค์
วรรคหน้าอย่าเลือนรางจำนวนห้าพาจดจำ
หกพยางค์ในวรรคหลังตามแบบตั้งเจ้าลองทำ
สัมผัสตามชี้นำโยงเส้นหมายให้เจ้าดู
สุดท้ายของวรรคหนึ่งสัมผัสตรึงสามนะหนู
หกห้าโยงเป็นคู่เร่งเรียนรู้สร้างผลงาน
  
 อ.ภาทิพ ศรีสุทธิ์

วันอาทิตย์ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ฉันทลักษณ์โคลงสี่สุภาพ

ตัวอย่างคำประพันธ์ที่นิยมท่องเป็นต้นแบบเพื่อง่ายต่อการจดจำแผนผัง
                                    เสียงลือเสียงเล่าอ้าง
อันใด พี่เอย
                        เสียงย่อมยอยศใคร
ทั่วหล้า
                      สองเขือพี่หลับใหล
ลืมตื่น ฤๅพี่
                  สองพี่คิดเองอ้า
อย่าได้ถามเผือ

ลิลิตพระลอ

วันจันทร์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

ทุกข์ของชาวนาในบทกวี


ผู้แต่ง  สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
ลักษณะการแต่ง   ร้อยแก้วประเภทเรียงความ
ที่มาของเรื่อง  ชวนคิดพิจิตรภาษา  ในหนังสือมณีพลอยร้อยแสง
จุดมุ่งหมาย  เพื่อแสดงแนวพระราชดำริเกี่ยวกับบทกวีไทยและบทกวีจีน ที่กล่าวถึงความทุกข์ยากของชาวนา
สาระสำคัญโดยสรุป   เนื้อความแสดงถึงความเข้าพระทัยปัญหาต่างๆ ของชาวนาและยังสะท้อนพระเมตตาธรรมอันเปี่ยมล้นของพระองค์ที่มีต่อชาวนา ทรงนำบทกวีของจิตร ภูมิศักดิ์มาวิเคราะห์ เกี่ยวกับความยากลำบาบของชาวนาไทย และทรงแปลบทกวีจีนของหลี่เชินเป็นภาษาไทย ทำให้เห็นภาพชีวิตชองชาวนาไทยและชาวนาจีน ไม่ได้มีความแตกต่างกันเท่าใดนัก
เมื่อครั้งเป็นนิสิต ข้าพเจ้าได้เคยอ่านผลงานของ จิตร ภูมิศักดิ์ อยู่บ้าง แต่ก็ไม่ได้ศึกษา อย่างละเอียด หรือวิเคราะห์อะไร เพียงแต่ได้ยินคำเล่าลือว่า เขาเป็นคนที่ค้นคว้าวิชาการได้กว้างขวาง และลึกซึ้งถี่ถ้วน ในสมัยที่เราเรียนหนังสือกัน ได้มีผู้นำบทกวีของจิตรมาใส่ทำนองร้องกัน ฟังติดหู มาจนถึงวันนี้
เปิบข้าวทุกคราวคำ    จงสูจำเป็นอาจิณ เหงื่อกูที่สูกิน   จึงก่อเกิดมาเป็นคน ข้าวนี้น่ะมีรส  ให้ชนชิมทุกชั้นชน
เบื้องหลังสิทุกข์ทน   และขมขื่นจนเขียวคาว จากแรงมาเป็นรวง   ระยะทางนั้นเหยียดยาว จากรวงเป็นเม็ดพราว  
ล้วนทุกข์ยากลำเค็ญเข็ญ เหงื่อยหยดสักกี่หยาด  ทุกหยดหยาดล้วนยากเย็น ปูดโปนกี่เส้นเอ็น   จึงแปรรวงมาเปิบกัน
 น้ำเหงื่อยที่เรื่อแดง และนำแรงอันหลั่งริน สายเลือดกูทั้งสิ้น  ที่สูซดกำซาบฟัน
          ดูจากสรรพนามที่ใช้ว่า กู ในบทกวีนี้ แสดงว่าผู้ที่พูดคือชาวนา ชวนให้คิดว่าเรื่องจริงๆ นั้น ชาวนาจะมีโอกาสไหมที่จะ ลำเลิก กับใครๆ ว่า ถ้าไม่มีคนที่คอยเหนื่อยยากตรากตรำอย่างพวกเขา คนอื่นๆ จะเอาอะไรกิน อย่าว่าแต่การลำเลิกทวงบุญคุณเลย ความช่วยเหลือที่สังคม มีต่อคนกลุ่มนี้ ในด้านของปัจจัยในการผลิต การพยุงหรือการประกันราคา และการักษาความยุติธรรมทั้งปวง ก็ยังแทบจะเป็นไปไม่ได้ ทำให้ในหลายๆ ประเทศ ที่มีการพัฒนาเศรษฐกิจ ชาวนาต่างก็จะละทิ้งอาชีพเกษตรกรรม ไปอยู่ในภาคอุตสาหกรรม หรือการบริโภค ซึ่งทำให้ตนมีรายได้สูงกว่า หรือได้เงินเร็วกว่า แน่นอนกว่า มีสวัสดิการดีกว่า และไม่ต้องเสี่ยงมากเท่าการเป็นชาวนา บางคนที่ยังคงอยู่ ในภาคเกษตรกรรม ก็มักจะนิยมเปลี่ยนพืชที่ปลูกจากธัญพืช ซึ่งมักจะได้ราคาต่ำ เพราะรัฐบาล ก็มีความจำเป็น ที่จะต้องขยับขยายตัวให้อยู่ในสถานะที่ดีขึ้นได้ อาจแย่ลงเสียด้วยซ้ำ แล้วก็ไม่มีสิทธิ ที่จะอุทธรณ์ฎีกากับใคร ถึงจะมีคนแบบจิตร ที่พยายามใช้จินตนาการสะท้อนความในใจ ออกมาสะกิดใจ คนอื่นบ้าง แต่ปัญหาก็ยังไม่หมดไป อ่านเพิ่มเติม...